Marketing Article

มีคำกล่าวว่า คนเราทุกคนมีบุญวาสนาอยู่กับตนความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีบุญวาสนา แต่บุญวาสนานั้นเราเป็นผู้กำหนดหรือสร้างขึ้นมาเองได้ไม่ยากเพียงแต่เรามีจิตใจให้เต็มเปี่ยมด้วยใจ (ความใจบุญ) คือการมีใจคิดช่วยเหลือผู้อื่นทันที่เมื่อมีโอกาสด้วยความเต็มใจ ในยุคสมัยนี้การบริการคือหัวใจของธุรกิจการแข่งขันก็คือการบริการ ธุรกิจจะเจริญก้าวหน้าขึ้นได้ก็เพราะการบริการที่ดี

 

คนที่มีจิตวิญญาณของนักบริการควรมีองค์ประกอบด้วยกัน 4 ประการดังนี้

 

  1. Personality บุคลิกของผูัให้บริการ (บุคลิกภายในและภายนอกรวมกัน) ได้แก่การแต่งกายที่เหมาะสม สะอาดเรียบร้อย ความมีระเบียบ มีกิริยามารยาทที่ดี ความมีสัมมาคารวะอ่อนน้อมถ่อมตน ความมั่นใจในตนเอง ความสามารถและจิตวิทยาในการพูด (แก้ปัญหาได้) และการเป็นคนตรงต่อเวลา ฯลฯ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าแค่เพียงข้อแรกก็ต้องฝึกฝนฝึกหัดกันมาก เพราะต้องรู้จริงต้องทำได้จนเป็นนิสัยความเคยชิน ไม่ใช่ทำตามอารมณ์เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวทำเดี๋ยวหยุดทำ บางวันขยันเอาจริงเอาจัง บางวันกลับไม่เอาเรื่อง ฯลฯ

 

  1. Knowledge ความรู้ ต้องมีความรู้ทั้งสองภาค คือ
    – ความรู้ในวิชาชีพ คือความรุู้ในวิชาชีพนั้นๆ ต้องเป็นเลิศมีความรู้แบบมืออาชีพจริงๆ เพราะผู้ใช้บริการคาดหวังในความรู้ในอาชีพจากเรา (ผู้ให้บริการ)
    – ความรู้รอบตัว คือความรู้อื่นๆ รู้เพื่อจะได้เอามาช่วยเสริมในขณะที่เสนองานหรือสนทนากับผู้ใช้บริการ
  2. Work Hard ต้องทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ทำงานด้วยความตั้งใจไม่ย่อท้อ ทำงานหนัก เพราะเวลาเป็นของมีค่าจงใช้เวลาของชีวิตให้เกิดประโยชน์ จงจำไว้ว่าไม่มีหนทางแห่งความก้าวหน้าอันไหนที่ได้มาอย่างสบายๆ ต้องเหนื่อยต้องลำบากจึงจะประสบผลสำเร็จ
  3. Attitude ทัศนคติที่ดี ต้องคิดดี หรือบางครั้งมักจะพูดว่าคิดบวกคือการ คิดบวกกับองค์กร กับผู้บริหาร กับเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญคือทัศนคติที่ดีกับผู้ใช้บริการ (ลูกค้า) จะเห็นว่าถ้ามีทัศนคติที่ไม่ดีกับผู้ใช้การบริการด้วยใจจะไม่เกิด เพราะจะกลายเป็นการเสแสร้งเปล่าๆ จึงเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนกันอย่างมากทางด้านจิตใจ (ทำได้ถ้าคิดแต่ในสิ่งที่ดี มองและชื่นชมในส่วนที่ดีของเขา เพราะคนเรามีทั้งดีและไม่ดีเหมือนกันทุกคน)

จิตวิญญาณของผู้ให้บริการนั้น ควรมีอยู่ในทุกคนทุกอาชีพทุกตำแหน่งงาน เพราะองค์กรต่างๆ ทุกวันนี้แข่งขันการทำงานกันที่การบริการ ดังนั้นคนในองค์กรต้องสร้างจิตใจบริการที่ใสบริสุทธิ์ ให้บริการอย่างเหนือความคาดหมาย อะไรที่ดีและใครทำไม่ได้เราจะทำ เพราะหากบริการเหมือนคนอื่นก็จะเป็นการบริการแบบธรรมดา แต่ถ้าบริการที่ดีขึ้นไปกว่านั้น ก็เท่ากับวิเศษกว่าคนอื่นทำให้ผู้ใช้บริการประทับใจ (Delight) แต่ถ้าบริการอย่างยอดเยี่ยมจริงๆ ผู้ใช้ก็จะซาบซึ้งใจ (Appreciate) ตลอดไปไม่มีวันลืม จะเห็นว่าเราทุกคนทำได้คือพยายามเรียนรู้วิธีการทำงานที่ดีให้สมบูรณ์แบบ เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่นทันที่ที่มีโอกาสด้วยความจริงใจ แล้วบุญวาสนาของตนเองก็จะเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องรอหรือร้องขอ เรามาฝึกเป็นนักบริการที่ดีกันเถิดค่ะ

ที่มา : วิโรจน์ ว่องประเสริฐ. (2556). บริการด้วยจิตใจใสบริสุทธิ์. ธุรกิจก้าวหน้า, 26(295), 68-70.